SDSN Thailand โดย IHPP และ SDG Move ร่วมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

ThailandSustainableDevelopmentForum2022

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) ภายใต้เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDSN Thailand) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อ “การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” (Thailand Sustainable Development Forum 2022) ขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565  ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ และได้ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ทางเพจ IHPP – สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และ SDG Move TH

เวทีฯ ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีสนับสนุนการสื่อสารความรู้ไปสู่นโยบายอย่างมีส่วนร่วมในการดําเนินการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่

  1. เพื่อสร้างกลไกการนําข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ไปสู่การกําหนดวาระนโยบายหรือประเด็นสำคัญ เพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย
  2. เพื่อส่งเสริมการสร้างและจัดการความรู้ระหว่างภาคส่วน ผ่านการสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการจัดทําข้อมูลสถานการณ์และช่องว่างในการดําเนินงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย
  3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายและการทํางานร่วมกันของนักวิชาการและภาคส่วนต่าง ๆ อย่างบูรณาการข้ามศาสตร์ ภายใต้ประเด็นความยั่งยืนที่สําคัญ และ
  4. เพื่อสร้างความมุ่งมั่นในการดําเนินงานเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2573

กิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของเวทีฯ วันนี้คือการเปิดตัว “รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอในฐานะกลไกสำคัญของการนำข้อมูลสู่การกำหนดวาระนโยบายและกลไกส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างบูรณาการ

รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของการนำแนวคิด Sustainability Transformation มาปรับเข้ากับบริบทของประเทศไทย และนำเสนอสถานการณ์รายประเด็นภายใต้ 5 ธีม ได้แก่

  1. ธีมที่ 1 สุขภาวะและทรัพยากรมนุษย์ (Human Well-being and Capabilities)
  2. ธีมที่ 2 เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (Sustainable and Just Economies)
  3. ธีมที่ 3 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Energy Decarbonization with Universal Access
  4. ธีมที่ 4 การพัฒนาของพื้นที่เมืองและพื้นที่กึ่งเมือง (Urban and Peri-urban Development)
  5. ธีมที่ 5 ระบบอาหาร ที่ดิน น้ำ และมหาสมุทรที่ยั่งยืน (Sustainable Food, Water, Land and Oceans)

ในภาพรวม รายงานฯ ยังได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้

  1. การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
  2. การขับเคลื่อนทุกภาคส่วน และทุกระดับสอดประสานกัน
  3. การขับเคลื่อนผ่านการวิจัย นวัตกรรม และกระบวนการเรียนรู้ในสังคม

อ่านรายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565: มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย


ขอบคุณที่มา: ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move)

Share