คู่มือการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการทำงานร่วมกับชุมชน

คู่มือการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการทำงานร่วมกับชุมชน

การทำงานร่วมกับชุมชนต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ส่วนบุคคลอย่างมาก ทำให้ภายหลังจากการลงชุมชนเสร็จสิ้นและจะดําเนินงานต่อนั้น มักประสบปัญหาข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้งานไม่ครบถ้วน และปัญหาความไม่เข้าใจชุมชน ซึ่งต้องมองผ่านมุมมองของชุมชนเอง ดังนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี “เครื่องมือ” เพื่อช่วยให้ทำงานกับชุมชนได้ง่ายขึ้น เครื่องมือเหล่านี้เปรียบเสมือนเข็มทิศในการเดินเรือที่จะช่วยให้คณะทำงานไม่เดินหลงทางไปที่ที่ไม่ใช่เป้าหมาย คู่มือฉบับนี้ประกอบด้วยเครื่องมือเพื่อใช้งาน 4 ขั้นตอน ได้แก่

  1. เครื่องมือเพื่อทำความเข้าใจชุมชนอย่างครบทุกมิติและผ่านมุมมองของชุมชนเป็นสำคัญ มี 13 เครื่องมือเพื่อช่วยให้ทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
  2. เครื่องมือเพื่อคัดเลือกแนวคิดการแก้ไขปัญหาชุมชน เมื่อเสร็จสิ้นการทำความเข้าใจและได้ข้อมูลมาแล้ว ต้องอาศัยเครื่องมือคัดเลือกข้อมูลที่หลายหลาย มี 5 เครื่องมือที่จะช่วยคัดเลือกข้อมูลที่เป็นประโยชน์และจําเป็นต่อการทำงานในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
  3. เครื่องมือเพื่อบอกเล่าการดําเนินงานในชุมชน หนึ่งในขั้นตอนสำคัญเพื่อดําเนินงานภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างคณะทำงานและชุมชนคือการสื่อสาร การมีข้อมูลหรืองานที่ทำร่วมกันจำนวนมากต้องบอกเล่าและพูดคุยให้เกิดความเข้าใจตรงกันอยู่เสมอ มีเครื่องมือช่วยบอกเล่าข้อมูลสู่ชุมชน 4 เครื่องมือ
  4. เครื่องมือเพื่อปรับปรุงการดําเนินงานในชุมชน ก่อนบรรลุวัตถุประสงค์การทำงานต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงการดําเนินงานก่อนเสมอ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการทำงานที่ผ่านมาให้สำเร็จ ตอบโจทย์ และตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด มี 3 เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบและปรับแก้ไขก่อนเสร็จสิ้นการดําเนินงาน

ทั้ง 25 เครื่องมือนี้สามารถนำไปปรับให้เหมาะสมกับประเด็นหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำงานร่วมกับชุมชนนอกเหนือจากที่ระบุไว้ หนังสือคู่มือนี้ผ่านกระบวนการคัดเลือกและออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการทำงานร่วมกับชุมชน

รวบรวมภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและกลไกเพื่อขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise; SE) สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่

ผู้เขียน: ผศ. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล, ดร.ศิญาณี หิรัญสาลี, ปิยนาถ ชาศรี และ จิตริน วันมีชัย

พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนเมษายน 2565

อ่านคู่มือฉบับเต็ม