ทุนโครงการนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (Mandatory Grant) ประจำปีงบประมาณ 2567 โดย NIA

ทุนโครงการนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (Mandatory Grant) ประจำปีงบประมาณ 2567

ทุนโครงการนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (Mandatory Grant) ประจำปีงบประมาณ 2567″ กับ 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ  ได้แก่

  1. สาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
  2. สาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
  3. สาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
  4. สาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
  5. สาขาธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยี ด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
  6. สาขายานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดยฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ เปิดรับข้อเสนอโครงการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรมทั้ง 6 สาขา ภายใต้ 7 กลไกการสนับสนุน ซึ่งแต่ละสาขามีกลไกการสนับสนุนแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา สามารถดูรายละเอียดได้ในแคปชั่นแต่ละภาพ ซึ่งทั้ง 7 กลไกมีรายละเอียด ดังนี้

  1. กลไกทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation)
    • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อโครงการ
      ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
    • สำหรับการทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรม การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ตลาดเป้าหมายมากขึ้น การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการลงทุน เป็นต้น
    • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด
  2. กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (MIND)
    • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,000,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
    • สำหรับการจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด ทรัพย์สินทางปัญญา การบัญชี การเงินและการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ
    • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว และต้องการเข้าถึงบริการที่ปรึกษาด้านการเติบโตทางธุรกิจ
  3. กลไกการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (Standard Testing)
    • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
    • สำหรับการจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร การวิเคราะห์ทดสอบ การทวนสอบและประเมินผล เพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์หรือขอรับรองมาตรฐานที่สำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจ
    • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว และต้องการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในตลาดเป้าหมาย และ/หรือ ขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดตลาดใหม่ และ/หรือ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดเดิม
  4. กลไกการขยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion)
    • ทุนสนับสนุนการทดสอบนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยสนับสนุนในสัดส่วนร้อยละ 100 กับกลุ่มลูกค้าภาครัฐ และสนับสนุนในสัดส่วนร้อยละ 50 กับกลุ่มลูกค้าภาคเอกชนคิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
    • สำหรับการขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายพร้อมกับการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ
    • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  5. กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital)
    • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
    • สำหรับการเสริมสภาพคล่องเพื่อการเติบโตของธุรกิจฐานนวัตกรรม
    • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน
  6. กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate Co-funding)
    • ทุนอุดหนุนสมทบกำหนดเงื่อนไขการส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ (recoverable grant) แก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระยะเริ่มต้นจนถึงระยะเติบโต (seed to growth stage) คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 10,000,000 บาท ต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
    • สำหรับธุรกิจนวัตกรรมต่อยอดทุนจากผลงานวิจัย หรือธุรกิจนวัตกรรมที่ต้องการสร้างโอกาสเติบโตจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม พร้อมกับการประเมินมูลค่าธุรกิจและผลการดำเนินธุรกิจผ่านรายงานทางบัญชี
    • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  7. กลไกนวัตกรรมดี…ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest)
    • ทุนอุดหนุน (Grant) ในสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 100 ของมูลค่าดอกเบี้ยคิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อโครงการ ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
    • สำหรับการขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรม
    • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. นิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
  2. นิติบุคคลที่สมัครรับทุนต้องมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
  3. นิติบุคคลเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) ที่ใช้ในโครงการ ทั้งนี้ สามารถเป็นการขอใช้สิทธิ์ (Licensing) ในทรัพย์สินทางปัญญาได้ (Intellectual Property; IP)
  4. มีโมเดลธุรกิจ (Business Model) และแผนการดำเนินธุรกิจ (Business Plan) ที่ชัดเจนเพื่อรองรับการขยายผลโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. นิติบุคคลหรือกรรมการบริหารของนิติบุคคล มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 3 ปี
    สมัครได้เลยที่: https://mis.nia.or.th/

ตั้งแต่วันนี้ – 15 ธันวาคม 2566 นี้เท่านั้น!

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดทุนและดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม
คลิกที่เพื่อดูหลักสูตรอบรมออนไลน์เตรียมความพร้อมขอรับทุน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
– อีเมล: mandatory@nia.or.th
– นวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูงและมูลค่าสูง โทร. 099-256-1455 (จิตรภณ)
– นวัตกรรมด้านพืชและสัตว์เศรษฐกิจ โทร. 087-563-2074 (ภัสสร)
– เศรษฐกิจการหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โทร. 085-911- 4691 (วัลยา)
– พลังงานสะอาด 085-911-4691 (วัลยา)
– ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยี ด้าน ARI Tech โทร. 085-525 5241 (สุทธิรักษ์)
– ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง โทร. 093-535-9498 (อภิวัฒน์)


ขอบคุณที่มา : NIA : National Innovation Agency, Thailand

Share