จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งในด้านที่อยู่อาศัย ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจท้องถิ่น สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม (SE Thailand) ในฐานะเครือข่ายสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อสังคม ได้ติดตามและประสานข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้สมาชิกและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการเยียวยาและการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม
ล่าสุด สมาคมฯ ได้รวบรวมมาตรการช่วยเหลือฉุกเฉินจาก 8 ธนาคารของรัฐ ที่ได้ออกนโยบายรองรับสถานการณ์ในครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ธอส. ออกมาตรการ 7 ข้อ ได้แก่ พักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย ให้กู้ซ่อมแซมบ้าน จ่ายค่าสินไหมสำหรับลูกค้าที่มีประกันภัย พร้อมมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
เว็บไซต์: www.ghbank.co.th -
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
พักชำระหนี้ต้นและดอกเบี้ย 12 เดือน พร้อมให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซม วงเงินสูงสุด 200,000 บาท (นิติบุคคล) และ 100,000 บาท (บุคคลธรรมดา) ผ่อนนาน 3 ปี
เว็บไซต์: www.smebank.co.th -
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
พักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน 6 เดือน และพักค่างวดหนี้ 3 งวด สำหรับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย
เว็บไซต์: www.tcg.or.th -
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank)
เสนอการผ่อนผันการชำระหนี้ เพิ่มสภาพคล่อง ขยายระยะเวลาชำระหนี้สูงสุด 7 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
เว็บไซต์: www.exim.go.th -
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ให้สินเชื่อฉุกเฉินรวมวงเงิน 20,000 ล้านบาท สำหรับเกษตรกรและสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ
เว็บไซต์: www.baac.or.th -
ธนาคารออมสิน
พักชำระเงินต้นและลดดอกเบี้ยเหลือ 0% สูงสุด 3 เดือน พร้อมสินเชื่อฉุกเฉินวงเงิน 20,000 บาท และสินเชื่อซ่อมบ้าน
เว็บไซต์: www.gsb.or.th -
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
มาตรการ “ไอแบงก์ไม่ทิ้งกัน” พักชำระเงินต้นและกำไรสูงสุด 6 เดือน พร้อมสินเชื่อฟื้นฟู วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท
เว็บไซต์: www.ibank.co.th -
ธนาคารกรุงไทย
ลดค่างวดเหลือ 25% นาน 1 ปี ดอกเบี้ย 0% ใน 3 เดือนแรก พร้อมสินเชื่อซ่อมบ้านและฟื้นฟูกิจการ
เว็บไซต์: www.krungthai.com
สมาคมฯ ขอยืนยันว่าจะเดินหน้าติดตามสถานการณ์ พร้อมประสานเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการและสมาชิกที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มความสามารถ ทั้งในแง่การเข้าถึงแหล่งทุน ข้อมูล และความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูธุรกิจและสภาพความเป็นอยู่ในระยะยาว
สมาชิกสามารถติดตามอัปเดตข่าวสารและแนวทางการสนับสนุนเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์และช่องทางสื่อสารของ SE Thailand หากมีความต้องการแจ้งเหตุหรือความช่วยเหลือเฉพาะด้าน สามารถติดต่อได้ผ่านอีเมล info@sethailand.orgหรือ LINE Official: @sethailand