ยังแฮปปี้ ร่วมกับ NIA สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการ ‘Innovation for Aging Society นวัตกรรมเปลี่ยนอนาคตสูงวัย (Incubation & Acceleration Program) โครงการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมเพื่อสังคมสําหรับผู้สูงอายุ ปีที่ 2’
เปิดพื้นที่ให้กับผู้ประกอบการเพื่อสังคมและเหล่านวัตกร (Innovator) ทั้งมือใหม่และมืออาชีพ ได้ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ด้วยไอเดียและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุของไทยในอนาคต พร้อมพัฒนานวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมได้จริง และสามารถขยายเป็นธุรกิจเพื่อสังคมได้อย่างยั่งยืน
30 ทีมที่ได้รับคัดเลือก จะได้เข้าร่วมกิจกรรม workshop เพื่อเพิ่มทักษะ ปั้นไอเดียเจ๋ง ๆ สู่การลงมือทำได้จริง พร้อมร่วมนำเสนอไอเดียที่นำไปสู่โอกาสการเป็น 5 ทีมสุดท้ายที่ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมทีมละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท
โจทย์โครงการ:
เปลี่ยนประสบการณ์การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ใน 6 ประเด็น
1.Finance
ผู้สูงอายุมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นหรือบางคนอาจมีการเกษียณอายุก่อน ด้วยปัจจัยเงินเฟ้อทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อาจทำให้รูปแบบการทำงานและเก็บเงินแบบเดิม ๆ ไม่เพียงพอสำหรับบั้นปลายชีวิต รวมไปถึงการป้องกันการหลอกลวงทางด้านการเงินการวางแผนการเงินสำหรับผู้สูงอายุ จึงเป็นแนวคิดที่จำเป็น เพื่อให้มีการใช้จ่ายที่มั่นคงจนถึงช่วงบั้นปลายของชีวิต
2.Health
การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุมีหลากหลายรูปแบบ และเกี่ยวข้องกับคนหลายกลุ่ม ทั้งการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ การดูแลจากคนในครอบครัว ไปจนถึงการรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ กระบวนการดูแลเชิงป้องกัน การฝึกกายภาพร่างกาย หรือแม้แต่การรักษาเมื่อยามเจ็บป่วย
3.Cognitive Health
การใช้องค์ความรู้และความสามารถของผู้สูงอายุให้ได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นสมองให้มีการทำงานอยู่ตลอดเวลา ช่วยทั้งในเรื่องของความจำและอารมณ์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือหรือบริการใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาช่วยบริหารสมอง กระตุ้นความจำ ความเร็วในการตัดสินใจ และการวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
4.Social & Connectivity
ในการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ มีหลากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อม สังคม ความเป็นอยู่ ผู้ดูแล และค่าใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้นการมอบความคุ้มค่าและช่วยลดค่าใช้จ่ายผ่านสินค้าและบริการที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
5.Universal Design
การออกแบบสถานที่หรือสิ่งของต่างๆ แบบ Universal Design หรือการออกแบบเพื่อคนทุกวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีการขยับร่างกายอยู่เสมอ
6.Activities of Daily Living
ผู้สูงอายุส่วนมากจะเริ่มเข้าสู่ภาวะเนือยนิ่ง เนื่องจากมีการทำกิจกรรมประจำวันในแต่ละวันลดน้อยลง เช่น การกินอาหาร การอาบน้ำ แต่งตัว ดังนั้นสินค้าหรือบริการสำหรับผู้สูงอายุ ควรจะเป็นการส่งเสริมหรือชักจูงให้ผู้สูงอายุอยากจะลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ:
- 1 ทีม มีสมาชิก 2-5 คนไม่จำกัดอายุ พิเศษ! ทีมที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน จะได้รับการพิจารณาให้เข้ารอบ Fast Track (โควตาจำกัด Fast Track 5 ทีม)
- มี Concept Idea หรือ Business Idea ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์โครงการ และอยากต่อยอดพัฒนาให้เกิดเป็นนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุที่ดำเนินการได้จริง
- ทีมที่มีต้นแบบนวัตกรรม (Prototype Model) อยู่แล้ว จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
กำหนดการรับสมัคร:
- เปิดรับสมัคร วันนี้ – 26 มิ.ย. 65
- ประกาศผล 30 ทีม ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ 28 มิ.ย. 65
- ปฐมนิเทศ 2 ก.ค. 65
- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ Workshop จนถึง Demo Day ก.ค.- พ.ย. 65
Program Structure:
- Incubation (30 ทีมได้เข้าร่วมอบรม)
- Screening (คัดเลือกจาก 30 ทีม เหลือ 15 ทีมสู่รอบ Final Pitching)
- Acceleration program (คัดเลือกจาก 15 ทีม เหลือ 5 ทีมที่ได้รับทุนสนับสนุนพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม)
สิ่งที่ 30 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับ:
- ได้ร่วมเวิร์กช้อปสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ
- ได้รับคำปรึกษาจาก mentor ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่ม
- ได้ร่วมเครือข่ายจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความสนใจ พัฒนาหรือลงทุนในนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ
- ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมทีมละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท (5 ทีมสุดท้าย)
สมัครได้ที่: https://forms.gle/R8XtxtnEZoHCp6jU8
สอบถามเพิ่มเติม ผู้ประสานงานโครงการ คุณจ๋า 092-264-3565
ขอบคุณที่มา: younghappy.com