ที่มาที่ไป
เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยมีวิสัยทัศน์ต่อการยกระดับจากการผลิตบัณทิตเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นการสนับสนุนการประกอบการแทน (Entrepreneurial Universities) เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้มีแนวคิด ทักษะและประสบการณ์ด้านการประกอบการ มองเห็นโอกาสและมีศักยภาพต่อการพัฒนานวัตกรรมและประกอบการได้หลังจบการศึกษา ช่วยส่งเสริมสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยถือเป็นพื้นฐานและโครงสร้างสำคัญต่อการเรียนรู้ เต็มไปด้วยองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ครูอาจารย์และบุคลากรที่มีคุณภาพ รวมถึงทรัพยากรและเครือข่ายทั้งในและนอกรั้วมหาวิทยาลัย มีความพร้อมในระดับที่ดีต่อการสร้างระบบสนับสนุน (Support System) เพื่อช่วยขับเคลื่อนการเรียนการสอนด้านการประกอบการได้
ความท้าทายสำคัญสู่การสร้างมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการประกอบการ คือ การเตรียมความพร้อมด้านครูอาจารย์และบุคลากร ผู้ซึ่งมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยเฉพาะในรูปแบบของการสอน (Teach) ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ช (Coach) มากขึ้น สามารถสลับบทบาท เกิดเครือข่ายอาจารย์โค้ชไว้แลกเปลี่ยนและช่วยกันกัน (Cohort) เพื่อช่วยส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษารู้สึกสนใจ อยากเรียนรู้และฝึกฝนด้านการประกอบการได้ด้วยตนเอง ตั้งเป้าหมายและพัฒนาแนวคิดใหม่ เรียนรู้จากการลงมือทำจริงและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ในวงกว้าง มากกว่าการเข้าร่วมกิจกรรม นำเสนอและปิดท้ายด้วยการรับรางวัล แต่ขาดโอกาสในการลงมือทำและรับการสนับสนุนระหว่างทางจนเกิดผลกระทบที่ดีต่อตนเองและสังคม
จุดประสงค์หลักสูตร
เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของอาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัย สู่การสร้างมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการประกอบการ (Entrepreneurial Universities) โดยนำเอาความรู้และการพัฒนาทักษะ coaching มาปรับใช้กับบริบทของมหาวิทยาลัยไทย
กลุ่มเป้าหมาย
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร หรือผู้เกี่ยวข้องที่สนใจและมีบทบาทในการปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการประกอบการ (Entrepreneurial Universities) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่
1.ดูแลวิชา/หลักสูตร (teaching and curriculum) ที่มีเนื้อหา/กระบวนการเกี่ยวข้องกับการทำเพื่อสังคม ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม เช่น การลงพื้นที่ชุมชน งานอาสา การปลูกจิตสำนึก ฯลฯ
2. ทำงานบริการทางวิชาการ (Academic Service) ที่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนงานเพื่อสังคม ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม เช่น งานวิจัย ชุดเครื่องมือ กระบวนการ และทรัพยากรความรู้
3. เป็นผู้รับผิดชอบ หรือดูแลหน่วยงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการบ่มเพาะโปรเจกต์เพื่อสังคม (Social Incubation Unit) เช่น หน่วยบ่มเพาะ Social Startups ฯลฯ
4. กำลังทำงานขับเคลื่อนเพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อการบ่มเพาะกิจกรรมหรือกิจการเพื่อสังคม
เป้าหมายการเรียนรู้
- เรียนรู้แนวคิดการเป็นโค้ช กระบวนกร ที่ปรึกษา เปรียบเทียบกับบทบาทอาจารย์
- เรียนรู้บทบาทของโค้ชกับการสนับสนุนผู้ประกอบการและการสร้างนวัตกรรม
- รู้จักผู้สนใจการสนับสนุนผู้ประกอบการจากส่วนต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือ
- เรียนรู้ กระบวนการและเครื่องมือพื้นฐานในการฝึกทักษะโค้ช และสามารถวางแผนเพื่อไปปรับใช้ในการทำงานในมหาวิทยาลัยได้ (การเรียนการสอน การทำวิจัย และงานบริการวิชาการ)
วิทยากร
- พรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์ และธุวรักษ์ ปัญญางาม School of Changemakers
- ศุภวิชช์ สงวนคัมธรณ์ และวรัตม์ เชิดเกียรติตระกูล Blackbox
กำหนดการ
วันที่ 25 พฤษภาคม 2562
09.00 – 09.30 ลงทะเบียน
09.30 – 10.00 Introduction / Setting expectation
10.00 – 12.00 Changemaker Character/ Supporting Changemakers
12.00 – 13.00 Lunch
13.00 – 16.00 Coaching Foundation and Coaching Skill (Active Listening/ Powerful Question)
วันที่ 26 พฤษภาคม 2562
09.00 – 09.30 Check-in/ Recap
09.30 – 10.00 Changemakers Toolkit: Dream it Do it
10.00 – 11.30 Coaching exercise with GROW model
11.30 – 12.00 Changemakers Toolkit: Problem Define
12.00 – 13.00 Lunch
13.00 – 15.30 Changemakers Toolkit: Idea Generation
15.30 – 16.00 Next step
เงื่อนไขการเข้าร่วม
- สามารถเข้าร่วมได้ทั้งสองวัน
- กรอกสมัครที่ http://bit.ly/2D7MJQp ภายในวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์คัดเลือกผู้เข้าร่วมตามคุณสมบัติที่เปิดรับ ในกรณีที่มีผู้สมัครเกิน 30 คน ทั้งทางทีมงานโดยจะส่งอีเมล์ยืนยันการเข้าร่วมภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562
- การอบรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม ทั้งนี้ทางโครงการไม่มีงบประมาณสนับสนุนค่าเดินทางหรือค่าที่พักของผู้เข้าร่วม
- ทางโครงการขออนุญาตผู้เข้าร่วมอบรมติดตามผลการนำเครื่องมือโค้ชและ Changemaker Toolkits ไปใช้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
School of Changemakers